วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

4. มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi)


มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) มหาบุรุษผู้นำเอกราชคืนสู่ดินแดนภารตะ

ชื่อจริง    โมฮัมดาส์ คานธี (Mohandas Gandhi)

ประวัติย่อ

นักการเมืองชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1869 - 1948 (79 ปี)

บทบาทสำคัญ

ผู้นำทางการเมืองที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดียจากอังกฤษ โดยใช้สันติวิธี หรือ แบบอหิงสา เช่นการอดอาหารประท้วง การไม่ใช้ความรุนแรง จนทำให้อังกฤษยินยอมให้เอกราช ในปี ค.ศ. 1948แต่สุดท้ายตัวของคานธีเอง กลับถูกชาวฮินดูหัวรุนแรงลอบสังหาร เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948

ใช้ชีวิตให้เสมือนว่าพรุ่งนี้ท่านจะไม่มีชีวิตอยู่แล้ว เรียนรู้ให้เสมือนว่าท่านจะอยู่ในโลกนี้ตลอดไปไม่มีวันสิ้นสุด
Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever


มหาตมะ คานธี หรือ โมฮันดาส คารามจันท์ คานธี (ค.ศ.1869-1948) เป็นนามที่กล่าวขวัญกันทั่วโลกในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เมื่อท่าน
สามารถนำประชาชนอินเดียทั้งประเทศเข้าต่อสู้กับจักรวรรดิอันเกรียงไกรของอังกฤษได้สำเร็จ ด้วยวิธีการที่ชาวตะวันตกคาดไม่ถึง สามารถเรียก
ร้องเอกราชกลับคืนสู่ประเทศและศักดิ์ศรีกลับคืนสู่ประชาชน ด้วยหลักการแห่ง “อหิงสา” คือ ความไม่เบียดเบียน อารยธรรมทางด้านจิตใจของชาว
เอเชีย ได้พิสูจน์ตัวเองอย่างเด่นชัดว่าอยู่เหนืออารยธรรมทางด้านวัตถุอันพรั่งพร้อมด้วยสรรพาวุธของชาวตะวันตก ด้วยอำนาจแห่งสัจจะและความรัก
เท่านั้นที่ปัญหาของมนุษยชาติจะอาจแก้ไขให้ลุล่วงไปได้
          ดังนั้น การใช้ความรุนแรง การประหัตประหาร หรือสงคราม จึงถือเป็นความผิดอย่างมหันต์ เพราะเท่ากับเป็นการสิ้นหวังในมนุษยชาติ เป็น
การทำลายคุณธรรมและความจริงที่ซ่อนอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน และเป็นการปลุกธรรมชาติฝ่ายต่ำของมนุษย์ให้แสดงพละกำลังออกมา อันกลาย
เป็นการจองล้างจองผลาญไม่มีที่สิ้นสุด วิธีที่จะเอาชนะความชั่วจึงไม่ได้อยู่ที่การทำลายคนชั่ว แต่อยู่ที่การเปลี่ยนจิตใจของคนชั่วโดยไม่ทำความชั่ว
ตอบ คานธีได้ย้ำเตือนอยู่เสมอว่า ให้เกลียดชังความเลวแต่อย่าเกลียดชังคนเลว เพราะทุกคนมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีได้เสมอ

บาป 7 ประการในทัศนะของคานธี
          เขาเขียนไว้ในหนังสือเชิงอัตชีวประวัติของท่านเรื่อง “The Story of My Experiments with Truth” เมื่อปี ค.ศ. 1925 ภาษาอังกฤษ
สำนวนดั้งเดิมที่โด่งดังไปทั่วโลกเขียนไว้สละสลวยมากดังนี้
          1. เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ (Politics without principles.)
          2. หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด (Pleasure without conscience.)
          3. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน (Wealth without work.)
          4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี (Knowledge without character.)
          5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม (Commerce without morality.)
          6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์ (Science without humanity.)
          7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ (Worship without sacrifice.)

หลักอหิงสาของมหาตมะคานธี
          แนวคิดของศาสนา ฮินดู ที่มีความหมายว่า หลีกเลี่ยงความรุนแรง และไม่เบียดเบียนเคารพในชีวิตผู้อื่น เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า การหลีกเลี่ยงความบาดเจ็บ อหิงสามักมีคนนำมาใช้ในการประท้วง เป็นการประท้วงแบบสันติ อย่างเช่น มหาตมะคานธี ซึ่งเป็นต้นแบบของ การประท้วงแบบอหิงสา ซึ่งหลังจากนั้นมาก็มีคนนำวิธีการประท้วงแบบอหิงสามาใช้เช่นกัน มหาตมะ คานธีได้ใช้หลักอหิงสาในการประท้วงกับรัฐบาลอังกฤษ ในอินเดียเพื่อเรียกร้องเอกราชทำควบคู่ไปกับ

สัตยเคราะห์ คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการของความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวมั่นคง ที่จะยืนหยัดอยู่กับความจริงและความถูกต้อง โดยพร้อมที่จะยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง และตามทรรศนะของคานธี หลักสำคัญก็คือการควบคุมจิตใจไม่ให้เกิดความเกลียดชัง อันจะนำไปสู่ความรุนแรงและการต่อสู้ที่ใช้กำลังต่อไป ประท้วงอย่างยุติธรรม ด้วยความเยือกเย็นและสงบต่อสาธารณชนและต่อผู้ก้าวร้าว โดยพิจารณาถึงเหตุผลของผู้ก้าวร้าวด้วย ให้เวลาแก่ผู้ก้าวร้าวได้คิด และถึงแม้ว่าต่อมาฝ่ายก้าวร้าวจะไม่ยินยอมแก้ไขความผิดก็ตาม นักสัตยาเคราะห์ก็จะให้ฝ่ายนั้นได้รู้ถึงความตั้งใจของเขา ที่จะลงมือทำการ เคลื่อนไหวแบบ "อหิงสา" และก็กระทำจริงตามนั้นด้วย อย่างเช่น การรวมตัวกันประชาชนนับพันคน ไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ เพื่อเรียกร้องเอกราช ได้ถูกนายพลไดเยอร์ ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ ผู้ซึ่งเคียดแค้นชาวอินเดียและต้องการให้อินเดีย เห็นถึงอนุภาพของอังกฤษ โดยการยิงประชาชนที่มาชุมนุม เสียชีวิตนับพันคนเสียชีวิต และบาดเจ็บกว่าสามพัน โดยที่ประชนเหล่านั้น ไม่ได้ตอบโต้หรือต่อสู้ทางกำลังเลย ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติอย่างมากจนยากที่จะฟื้นตัว หรือเหตุการณ์ที่ประชาชนประท้วงกฎหมายอังกฤษ ที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันที่ 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคน ร่วมทำเกลือกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอังกฤษที่ตั้งไว้ หรือเรียกว่า

“อารยะขัดขืน หรือ civil disobedience” คือการไม่ทำตามคำสั่งหรือกฎหมายของรัฐบาลหรือผู้ถืออำนาจ โดยปราศจากความรุนแรงทางกายภาพ ประชาชนได้กระทำการประท้วงโดยปราศจากการใช้กำลัง ถึงแม้ว่าจะถูกคนของรัฐบาลทำร้ายแต่ก็ยังเดินหน้าต่อไป แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการถูกทุบตีก็ตาม การกระทำนี้ทำให้ มีการพูดถึงกันทั่วโลก ทำให้รัฐบาลอังกฤษยิ่งเสียหน้า และเริ่มใจอ่อน กับการให้เอกราชกับอินเดีย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่สำคัญก่อนได้รับเอกราชคือ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม และประชาชนที่นับถือศาสนาฮินดู นำไปสู่การแบ่งแยกเป็นสองประเทศคืออินเดียและปากีสถาน เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเสียใจอย่างมาก และพยายามทำให้ประชาชนสามัคคีกัน อย่างเช่น เหตุการณ์ความรุนแรงในกัลกัตตา คานธีได้ประท้วงอดอาหารให้ประชาชนหยุดทะเลาะกัน จนในที่สุดประชาชนก็เลิกทะเลาะกัน และต่อมา รัฐบาลอังกฤษก็ได้ให้เอกราชกับอินเดียโดยสมบูรณ์

การกระทำของคานธีโดยใช้หลักอหิงสานั้น เป็นแบบอย่างให้กับ หลายๆประเทศทั่วโลก อย่างเช่น ขบวนการสิทธิพลเมือง ในสหรัฐอเมริกาที่เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของคนผิวขาวและผิวดำ เป็นต้น การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องเอกราชโดยยึดหลักอหิงสาของมหาตมะ คานธีเป็นวิธีการต่อสู้แบบสงบที่เป็นวิธีที่ได้ผลและดีที่สุด จนเป็นแบบอย่างให้กับประเทศต่างๆนำไปเป็นแบบอย่างในการประท้วงของท่านมหาตมะ คานธีเป็นอหิงสาที่แท้จริงคือบ่มลึกไปที่จิตใจคน ไม่ให้เกลียดชังและใช้ความเยือกเย็น จนทำให้การชุมนุมประท้วงปราศจากการใช้กำลัง

มหาตมะคานธี ผู้นำและนักการเมืองชาวอินเดีย ถูกลอบสังหารในวัย 78 ปี ขณะเดินเข้าไปในที่ประชุมเพื่อสวดประจำวัน ในสวนเวอริฮาร์กรุงนิวเดลีย์ ขณะที่คานธีกำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" ผู้ลอบทำร้ายคือ นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิมได้ยิงปืนใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลง เมื่อแพทย์ได้มาพบคานธี ก็พบว่า คานธีได้สิ้นลมหายใจแล้ว

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวถึงมหาตมะ คานธี ว่า “เป็นผู้นำของประชาชนโดยไม่ต้องอาศัยอำนาจจากสิ่งภายนอก เป็นนักต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ผู้ตำหนิการใช้กำลังรบ เป็นบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยสติปัญญาและความอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้มีพละกำลังคือความเด็ดเดี่ยวและความเสมอต้นเสมอปลายอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่อุทิศกำลังทั้งหมดเพื่อยกระดับจิตใจและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นบุคคลที่เผชิญหน้ากับความก้าวร้าวโหดเหี้ยมของยุโรป ด้วยศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ธรรมดานี้เอง และทุกครั้งก็สามารถอยู่เหนือกว่า”



1 ความคิดเห็น: